วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การทำน้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด




ที่มาและความสำคัญ
    ในชีวิตประจำวันของทุกคนการดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั้นมักจะมีการใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องใช้ต่างๆในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกปนเปื้อนของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดแต่ละครั้งนั้นจะมีการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสิ่งสกปรกของใช้หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งในน้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนี้มักมีส่วนผสมสารเคมีต่างๆที่มีกลิ่นของสารรุ่นแรงและทำให้เป็นผลเสียต่อสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการแก้ไขปัญหาสารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของเราให้มีความปลอดภัยนำสารในธรรมชาติมาทำผลิตภัณฑ์ขจัดคราบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
      สาเหตุที่เล็งเห็นการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดน้ำยาเช็ดกระจกทั่วๆไปตามท้องตลาดส่งกลิ่นแรงสารเคมีที่มีในน้ำยาเช็ดกระจกทั่วๆไปนี้มีผลเสียต่อร่างกาย มีส่วนผสมของ บิวทิล  เซลโลโซล และแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ เป็นอันตรายหากดูดซึมผ่านผิวหนังจะระคายเคือง
      ในชีวิตประจำวันในการดำเนินชีวิตการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในธรรมชาติทั้งไม่เป็น
ธรรมชาติต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมน้ำยาเช็ดกระจกที่ได้ศึกษาและมาทำโครงงานนี้ มีส่วนผสมของวัตถุดิบจากธรรมชาติหาได้ภายในครัวเรือนและในท้องถิ่นไม่เป็นอันตรายและไม่ต้องซื้อ
และมีวิธีทำที่ง่าย แป้งข้าวโพดหรือผงขี้เถ้ามีผลทำให้กระจกเงาและขจัดคราบสกปรกได้จึงสามารถนำมาใช้แทนน้ำยาเช็ดกระจกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน             

 วัตถุประสงค์
                  1.เพื่อทดลองใช้น้ำยาเช็ดกระจกจากสูตรอื่นๆซึ่งนอกเหนือจากน้ำยาเช็ดกระจกที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบและมักนิยมใช้ในปัจจุบัน
      2.เพื่อใช้น้ำยาเช็ดกระจกที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่าน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไป


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
       น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด สามารถนำไปใช้ขจัดคราบสกปรกบนกระจกแทนน้ำยาเช็ดกระจกทั่วไปได้   และช่วยลดสารพิษตกค้าง


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.น้ำส้มสายชู




    กรดน้ำส้ม หรือ กรดแอซีติก (อังกฤษ: acetic acid) เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในน้ำส้มสายชู (ไม่ใช่พืชตระกูลส้มซึ่งให้กรดซิตริก) มีรสเปรี้ยวและกลิ่นฉุน กรดแอซีติกแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16.7 °C มีลักษณะเป็นผลึกใส กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ไอของกรดสามารถทำให้ตาและจมูกระคายเคือง แต่ก็ยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหากละลายน้ำ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขจัดตะกรันในท่อน้ำ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร กรดแอซีติกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อควบคุมความเป็นกรดภายใต้รหัส E260
ชื่อตาม IUPACกรดแอซีติก (Acetic acid)
Systematic nameกรดเอทาโนอิก (Ethanoic acid)
ชื่ออื่น : แอซิติลไฮดรอกไซด์(AcOH)  ไฮโดรเจนแอซิเตต (HAc)   กรดเอทิลิก                            
มวลโมเลกุล :   60.05 g mol1
ลักษณะทางกายภาพ  :  ของเหลวไม่มีสี
ความหนาแน่น  :  1.049 g/cm3 (l)    1.266 g/cm3 (s)
จุดหลอมเหลว  :   16.5 °C, 290 K, 62 °F
จุดเดือด  :  118.1 °C, 391 K, 245 °F
ความสามารถละลายได้ในน้ำ  :  ผสมเข้ากันได้ดี                                  
ความหนืด  : 1.22 mPa·s ที่ 25 °C

2. แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต-แอมโมเนีย




               แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต หรือเรียกว่า ไบคาร์บอเนตออฟแอมโมเนีย, แอมโมเนียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, ฮาร์ตสฮอร์น (hartshorn), or ผงเบกิ่งแอมโมเนีย เป็น เกลือไบคาร์บอเนต ของ แอมโมเนีย แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต สามารถทำให้เกิดได้โดยการผ่าน คาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปในสารละลายแอมโมเนีย จะได้ผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลายของแอมโมเนียม ไบคาร์บอเนตเมื่อสัมผัสกับอากาศหรือโดนความร้อนจะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ออกมามันทำตัวเป็นด่างในปฏิกิริยาสารละลายทั้งหมดของคาร์บอเนตเมื่อถูกต้มจะสะลายตัวเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และ แอมโมเนียดังสมการข้างล่างนี้: NH4HCO3  NH3 + H2O + CO2
ชื่อแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต
ชื่ออื่นแอมโมเนียม ไฮโดรเจน คาร์บอเนต,        แอซิด แอมโมเนียม คาร์บอเนต,
           โมโนแอมโมเนียม คาร์บอเนต,               เกลือ คาร์บอเนต แอซิด โมโนแอมโมเนียม
สูตรโมเลกุล NH4HCO3
น้ำหนักโมเลกุล 79.06 g/mol
ความหนาแน่น1.586 g/cm3
การละลาย ใน น้ำSoluble (17.4% at 20 °C)
จุดหลอมเหลว : 106 °C                              
                                                                        
3. แป้งข้าวโพด

    แป้งข้าวโพด (อังกฤษ: corn starch, cornflour หรือ maize starch) เป็นแป้งที่ได้จากส่วนเมล็ดของข้าวโพด นิยมใช้ในการเพิ่มความข้นของซอสหรือซุปเนื่องจากให้เนื้อที่ใสกว่าแป้งชนิดอื่น และเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำเชื่อมข้าวโพดอีกด้วย


4. น้ำ



    น้ำ เป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ชอบน้ำ
   น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า  น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์
    น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน
     น้ำ เป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ HO โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง และสถานะแก๊ส 
ความหนาแน่น: 999.97 กก./ลบ.ม.
สูตร: H2O
จุดเดือด: 99.97 °C
จุดหลอมเหลว: 0 °C
ปริมาตรเชิงโมล: 18.01528 ก./โมล
อุณหภูมิจุดร่วมสาม: 0.01 °C
รหัส IUPAC: Water, Oxidane